ในการนี้ มูลนิธิอาเซียนจะมีการดำเนินโครงการ AI Ready ASEAN ขึ้นในอีก 2.5 ปีข้างหน้า โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI ที่จำเป็นให้กับประชาชนในอาเซียน ในทุกประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ผ่านการฝึกอบรบผู้ฝึกสอน (train-the-trainer), การสร้างศูนย์ทรัพยากร AI ระดับภูมิภาคให้เหมาะสมกับเยาวชน ครู ผู้ปกครอง, และการวิจัยเกี่ยวกับทักษะด้าน AI และจริยธรรม, และการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก Google.org จำนวนกว่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ
ดังนั้น มูลนิธิอาเซียนมีจึงเป้าหมายในการฝึกอบรมผู้ฝึกสอนต้นแบบจำนวน 2,000 คนผ่านโครงการ AI Ready ASEAN จากนั้นผู้ฝึกสอนจะได้ส่งต่อความรู้และทักษะด้าน AI ให้แก่อีกกว่า 800,000 คนในชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้การฝึกอบรมสนองตอบต่อความต้องการเฉพาะด้านของชุมชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง โดยมูลนิธิอาเซียนจะทำงานร่วมกันกับพันธมิตรท้องถิ่นในภูมิภาคเพื่อปรับหลักสูตรการฝึกอบรมให้เหมาะสมกับบริบทเฉพาะของแต่ละประเทศโดยเฉพาะ
ทั้งนี้ ดร. ปิติ ศรีสังข์นาม ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิอาเซียนกล่าวว่า "ในนามมูลนิธิอาเซียน เรารู้สึกยินดเป็ยอย่างยิ่งที่จะเปิดตัวโครงการ AI Ready ASEAN ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Google.org ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างความรู้และทักษะให้กับประชาชนหลายล้านคนทั่วภูมิภาค เพื่อต่อยอดให้สามารถเติบโตในยุคดิจิทัลได้" นอกจากนี้ "การเสริมสร้างความรู้และทักษะด้าน AI ในอาเซียนไม่ได้เป็นแค่เพียงการเตรียมพร้อมของเยาวชน ครู และชุมชนเพื่ออนาคตของการทำงานเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นว่าทุกคนมีเครื่องมือในการนำทางและจะสามารถสร้างสรรค์ภูมิทัศน์เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ด้วยการลงทุนในการศึกษาด้าน AI เรากำลังสร้างอาเซียนที่แข็งแกร่งและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อให้นำพลังของนวัตกรรมมาใช้เพื่อการเติบโตและพัฒนาอย่างยั่งยืน" เขากล่าวสรุป
โดยโครงการ AI Ready ASEAN จะมีส่วนช่วยในการบรรลุเป้าหมายข้อตกลงกรอบเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (ASEAN Digital Economy Framework Agreement) โดยเสริมสร้างทักษะ AI ให้กับประชาชนหลายล้านคนเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในภูมิภาค ซึ่งโครงการนี้จะส่งเสริมความเชี่ยวชาญในระดับท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลที่ครอบคลุมและยั่งยืน ในขณะเดียวกัน โครงการนี้ยังปฏิบัติตามแนวทางกำกับดูแลและจริยธรรมด้าน AI ของอาเซียน (ASEAN Guide on AI Governance and Ethics) เพื่อให้แน่ใจว่าการนำ AI มาใช้เป็นไปอย่างมีความรับผิดชอบ โดยเน้นที่ความโปร่งใส ความยุติธรรมและเท่าเทียมกัน
นอกจากนั้น โครงการ AI Ready ASEAN ได้ขับเคลื่อนภายหลังจากการประสบความสำเร็จของโครงการเสริมสร้างศักยภาพดิจิทัลที่ได้มีการดำเนินการไปก่อนหน้านี้ คือ โครงการ ASEAN Digital Literacy Programme ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปี 2564 ถึงต้นปี 2567 โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุน 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐจาก Google.org โครงการนี้มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาข้อมูลที่ไม่ถูกต้องในอาเซียน โดยการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงเครื่องมือที่ใช้ฝึกอบรมด้านทักษะการรู้เท่าทันสื่อและให้ข้อมูลสำหรับเยาวชน ครู ผู้ปกครอง และผู้สูงอายุ
ทั้งนี้ คุณ Marija Ralic หัวหน้าฝ่าย Google.org ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) กล่าวถึงเหตุผลที่ Google.org เลือกสนับสนุนมูลนิธิอาเซียนอีกครั้งว่า "การสนับสนุนเงินทุน 5 ล้านเหรียญสหรัฐของเราให้กับโครงการ AI Ready ASEAN ของมูลนิธิอาเซียนแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการช่วยให้สมาชิกในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะผู้คนในชุมชนที่ขาดโอกาส สามารถเข้าถึงทักษะดิจิทัล เทคนิค และ AI เพื่อเพิ่มโอกาสในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล อย่างไรก็ตามจากความสำเร็จของการสนับสนุนก่อนหน้านี้ในปี 2564 มูลนิธิอาเซียนได้ช่วยเหลือผู้คนหลายแสนคนทั่วอาเซียนในการพัฒนาทักษะดิจิทัลที่จำเป็น เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะเดินหน้าต่อไปในการสนับสนุนมูลนิธิอาเซียนเพื่อเชื่อมช่องว่างทางดิจิทัลและทำให้ทุกคนสามารถได้เข้าถึงประโยชน์จากพลังการเปลี่ยนแปลงของ AI"
ในส่วนของ H.E. Dr. Kao Kim Hourn เลขาธิการอาเซียน ได้ตอบรับการมีส่วนร่วมในโครงการ AI Ready ASEAN ที่มีเป้าหมายเพื่อยกระดับความรู้และทักษะด้าน AI และเสริมสร้างความรู้ด้านดิจิทัลในภูมิภาค รวมถึงสร้างโอกาสให้เยาวชนอาเซียนในการเติบโตในยุคดิจิทัล โดยกล่าวว่า "กระผมขอชื่นชมมูลนิธิอาเซียน และ Google.org ที่เป็นผู้นำในการริเริ่มโครงการนี้และมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาทักษะและความรู้ในภูมิภาคของเรา...กระผมจึงขอสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกอาเซียนใช้โอกาสนี้ในการเปลี่ยนแปลงภูมิภาคให้เป็นเศรษฐกิจดิจิทัลที่แข็งแกร่งและมีความยืดหยุ่น ภายใต้แนวทางของวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนปี 2588 (ASEAN Community Vision 2045)
งาน AI Opportunity Southeast Asia Forum จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างมูลนิธิอาเซียน และ Google โดยมีเป้าหมายเพื่อเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภูมิภาคเพื่อให้มีการพูดคุยร่วมกนเพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะสำหรับนโยบายและกฏระเบียบด้าน AI ที่เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ในอาเซียน ซึ่งมี จาก ดร. ปิติ ศรีสังข์นาม, คุณ Ruth Porat ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของ Alphabet และ Google และ H.E. Dr. Kao Kim Hourn เลขาธิการอาเซียน เป็นผู้กล่าวเปิดงาน
โดยงานนี้จัดให้มีการอภิปรายของผู้เชี่ยวชาญสองกลุ่ม ซึ่งรวบรวมผู้นำจากสาขาต่าง ๆ เช่น เศรษฐศาสตร์ นโยบายสาธารณะ สุขภาพ เกษตรกรรม และ STEM ในภูมิภาคอาเซียน การอภิปรายกลุ่มแรกได้สำรวจโอกาสและผลกระทบของ AI ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่การอภิปรายในกลุ่มที่สองมุ่งเน้นไปที่โอกาสในการนำ AI มาใช้ในภูมิภาค ซึ่งการอภิปรายทั้งสองเน้นย้ำถึงศักยภาพของ AI ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมที่มีความรับผิดชอบและยั่งยืนในหลายภาคส่วน รวมถึงเศรษฐกิจ การศึกษา สุขภาพ และเกษตรกรรม
ซึ่งไฮไลท์สำคัญของการประชุมนี้คือการจะเป็นการเปิดตัวโครงการ AI Ready ASEAN และการประกาศการสนับสนุนเงินทุนใหม่จาก Google.org ให้กับ EduFarmers โดยมีคุณ Ruth Porat เป็นผู้ประกาศการสนับสนุนเงินทุน นอกจากนี้ ภายในงานยังมีบูธ AI ที่แสดงผลงานของผู้รับทุนจาก Google และ Google.org ในการเสริมสร้างศักยภาพดิจิทัลในอาเซียน
Hashtag: #ASEANFoundation
The issuer is solely responsible for the content of this announcement.
ASEAN Foundation
กว่าสามทศวรรษหลังจากการก่อตั้งอาเซียน ผู้นำอาเซียนได้ตระหนักว่า การพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองอย่างเท่าเทียมกัน การสร้างความตระหนักรู้และการติดต่อระหว่างประชาชนในอาเซียนยังคงไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ ผู้นำอาเซียนจึงได้ก่อตั้งมูลนิธิอาเซียนขึ้นในระหว่างการประชุมสุดยอดครบรอบ 30 ปีของอาเซียน ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2540 โดยมูลนิธิอาเซียนเป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นโดยประชาชนและเพื่อประชาชนในอาเซียน ซึ่งมูลนิธิมีวิสัยทัศน์หนึ่งเดียวคือ การสร้างประชาคมอาเซียนที่มีความสามัคคีและเจริญรุ่งเรือง ในฐานะที่เป็นองค์กรของอาเซียน มูลนิธิได้รับมอบหมายให้ช่วยเหลืออาเซียนเป็นหลักในการส่งเสริมความตระหนักรู้ อัตลักษณ์ การมีปฏิสัมพันธ์ และการพัฒนาของประชาชนในอาเซียน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมูลนิธิอาเซียน โปรดไปที่ www.aseanfoundation.org
แสดงความเห็น