
ประมาณ 76% ของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ในระดับความพร้อมขั้นสูง (ระดับ 3 ขึ้นไป) สะท้อนให้เห็นถึงการนำเครื่องมือและกระบวนการที่มีความซับซ้อนมาใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการทำงาน จากผลการสำรวจยังคาดการณ์ว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะสามารถพัฒนาไปสู่ระดับความพร้อมสูงสุดในด้านการทำงานดิจิทัลภายใน 10 ปีข้างหน้า หากยังคงมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องในด้านนี้
โมเดลความก้าวหน้าของการเปลี่ยนผ่านสู่การทำงานดิจิทัล (Digital Transformation: DX) ถูกพัฒนาขึ้นโดยอิงจากตัวชี้วัดในสถานที่ทำงาน เช่น เครื่องมือและกระบวนการดิจิทัล รวมถึงตัวชี้วัดด้านประสิทธิภาพของพนักงาน เช่น ความสามารถในการทำงาน การทำงานร่วมกัน และความพร้อมด้านความปลอดภัย โดยโมเดลนี้แบ่งระดับความก้าวหน้าออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ การดำเนินงานแบบไม่เป็นทางการ (ใช้เครื่องมือและกระบวนการแบบน้อยมากหรือเฉพาะกิจ) การสร้างมาตรฐานการทำงาน (มีการกำหนดมาตรฐานของเครื่องมือและกระบวนการทำงาน) การดำเนินงานแบบมีโครงสร้าง (มีการบูรณาการขั้นสูงระหว่างแผนกต่าง ๆ) และการเพิ่มประสิทธิภาพ (มีการพัฒนาและปรับปรุงเครื่องมือและกระบวนการอย่างต่อเนื่อง) นอกจากตัวชี้วัดเหล่านี้ การสำรวจยังได้วัดประสบการณ์ของพนักงาน ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงต่อสถานที่ทำงาน และการนำเครื่องมือดิจิทัล เช่น AI และระบบวิเคราะห์ข้อมูล มาใช้งานด้วย
Gibu Mathew รองประธานและผู้จัดการทั่วไปของ Zoho ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า "ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงเป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนผ่านสู่การทำงานแบบดิจิทัล โดยองค์กรต่าง ๆ เร่งนำเครื่องมือสำหรับการทำงานร่วมกัน มาตรการด้านความปลอดภัย และโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI มาใช้อย่างรวดเร็ว งานวิจัยของเราชี้ให้เห็นว่า องค์กรในภูมิภาคนี้ไม่เพียงยอมรับเทคโนโลยีการทำงานยุคใหม่เท่านั้น แต่ยังสามารถผสานการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อยกระดับทั้งความสามารถในการผลิต และความปลอดภัย เราเห็นแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่งในผลิตภัณฑ์ของเราด้วยเช่นกัน โดยจำนวนลูกค้าของ Zoho Workplace ในภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 15% ในปี 2024 โดยเฉพาะเวียดนามที่เติบโตสูงสุดด้วยอัตราการเพิ่มขึ้นของลูกค้ามากกว่า 40% สำหรับ Zoho Workplace ในขณะที่ธุรกิจต่าง ๆ ก้าวหน้าขึ้น การมีรากฐานที่แข็งแกร่งในด้านความพร้อมของสถานที่ทำงานดิจิทัล จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนความสำเร็จในระยะยาว"
ข้อมูลสำคัญด้านผลิตภาพและการทำงานร่วมกันในสถานที่ทำงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
จากผลการสำรวจ พบว่าองค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีคะแนนสูงสำหรับตัวชี้วัดด้านผลิตภาพ แต่มีคะแนนเฉลี่ยด้านการทำงานร่วมกัน โดยหลายองค์กรมีการปรับเปลี่ยนเครื่องมือที่ใช้ในสถานที่ทำงาน เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเครื่องมือด้านผลิตภาพมักถูกนำมาใช้ในการทำงานระดับทีม ขณะที่เครื่องมือสำหรับการทำงานร่วมกันและความปลอดภัยมักถูกนำมาใช้ในการทำงานระดับองค์กร ข้อมูลสำคัญที่พบจากการศึกษา มีดังนี้:
1. การทำงานร่วมกันข้ามทีมและการจัดการคำร้องภายใน
เอเชียแปซิฟิกเป็นผู้นำในการนำระบบจัดการคำร้องภายในมาใช้ (56%) รวมถึงการใช้เครื่องมือแชทภายในทีมสำหรับการทำงานร่วมกันที่ไม่ซับซ้อน (72%) อย่างไรก็ตาม 30% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าการจัดการคำร้องที่ไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อประสิทธิผลโดยรวมขององค์กร
2. ช่องทางการประกาศภายในและการใช้โซเชียลอินทราเน็ต
องค์กรในเอเชียแปซิฟิกมีการใช้งานโซเชียลอินทราเน็ต 27% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่มีการใช้งานน้อยกว่า 20% ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อการสื่อสารแบบรวมศูนย์ อีเมลระดับองค์กรยังคงเป็นช่องทางประกาศหลัก โดยมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานมากขึ้น (41%) และองค์กรขนาดใหญ่ (40%)
3. การทำงานร่วมกันผ่านเอกสารและกลไกการให้ข้อเสนอแนะ
มีเพียง 32% ของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ใช้การทำงานร่วมกันผ่านเอกสารอย่างเป็นระบบ แต่กว่า 70% เห็นตรงกันว่าการได้รับข้อเสนอแนะแบบตรงไปตรงมา เป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มผลิตภาพ องค์กรขนาดใหญ่ (54%) มักเปิดรับข้อเสนอแนะผ่านเอกสาร ขณะที่ทีมพัฒนาระบบ (40%) และผู้บริหาร (33%) มักนิยมการอภิปรายแบบโต้ตอบผ่านแชทภายในทีม
ข้อมูลสำคัญด้านเครื่องมือและมาตรการความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นผู้นำด้านประสิทธิภาพของความปลอดภัยและการนำเครื่องมือในสถานที่ทำงานมาใช้งาน โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากความตระหนักรู้ที่เพิ่มขึ้น เกี่ยวกับความท้าทายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การศึกษานี้ได้เผยให้เห็นแนวโน้มสำคัญที่กำลังกำหนดทิศทางด้านความปลอดภัยของภูมิภาค ได้แก่:
1. การนำมาตรการความปลอดภัยมาใช้และการปฏิบัติตามข้อกำหนดในเอเชียแปซิฟิก
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นผู้นำด้านการฝึกอบรมความปลอดภัยทางไซเบอร์ (44%) และการใช้ระบบยืนยันตัวตนขั้นสูง (40%) ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่ต่ำกว่า 35% แนวทางการทำงานระยะไกลอย่างปลอดภัยถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในภาคการศึกษา (49%) และองค์กรขนาดใหญ่ (46%) อย่างไรก็ตาม การรายงานเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยยังคงอยู่ที่ 20% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำ
2. การจัดการอีเมลต้องสงสัยและการตรวจจับภัยคุกคาม
มีสถานที่ทำงานในเอเชียแปซิฟิกไม่ถึง 10% ที่ใช้ระบบแจ้งเตือนความปลอดภัยขั้นสูงในการตรวจจับอีเมลต้องสงสัย โดยภาครัฐและองค์กรขนาดใหญ่มีอัตราการปฏิบัติตามมาตรการการรายงานภัยคุกคามสูงที่สุด (48%)
3. การจัดการบัญชีที่ใช้งานร่วมกันและข้อมูลรับรอง
ผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียแปซิฟิก 40% ใช้เครื่องมือจัดการรหัสผ่าน แต่ยังมีอีก 30% ที่ยังคงใช้วิธีที่ไม่ปลอดภัย เช่น การเก็บรหัสผ่านในไฟล์ Excel ขณะที่การควบคุมสิทธิ์เข้าถึงตามบทบาท (Role-based access) มีการนำมาใช้มากที่สุดในภาครัฐ (56%) และองค์กรขนาดใหญ่ (49%) ซึ่งช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับมาตรการควบคุมด้านความปลอดภัย
การนำ AI มาใช้ในสถานที่ทำงาน
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นผู้นำด้านการนำ AI มาใช้งาน ผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าได้นำระบบค้นหาและดึงข้อมูลด้วย AI มาใช้โดยเฉลี่ย 54% ซึ่งสูงกว่าภูมิภาคอื่นอย่างชัดเจน เครื่องมือสื่อสารที่ขับเคลื่อนด้วย AI ก็ได้รับความนิยมอย่างมากเช่นกัน (50%) โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี (56%) และค้าปลีก (56%) นอกจากนี้ ยังมีการนำระบบวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ (Predictive Analytics) ที่ 40% และการทำงานอัตโนมัติผ่านเวิร์กโฟลว์ (43%) ได้ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้เอเชียแปซิฟิกยังคงรักษาตำแหน่งผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล
ประสบการณ์ในสถานที่ทำงานและการจัดการการเปลี่ยนแปลง
ประสบการณ์ในสถานที่ทำงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล โดยองค์กรที่ปรับปรุงเครื่องมือการทำงานให้ทันสมัย จะมีคะแนนความพร้อมที่สูงขึ้นและมีความพึงพอใจของพนักงานที่ดีขึ้น การศึกษานี้ได้สำรวจแนวโน้มสำคัญด้านความพร้อมของสถานที่ทำงาน การอัปเกรดเครื่องมือ และผลกระทบที่มีต่อประสบการณ์การทำงานของพนักงาน:
1. ความพร้อมของสถานที่ทำงานและประสบการณ์ของพนักงาน
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างความพร้อมของเครื่องมือในสถานที่ทำงานและ ประสบการณ์ของพนักงาน องค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ได้ปรับปรุงเครื่องมือในสถานที่ทำงานอย่างครบถ้วน จะมีคะแนนความพร้อมที่ 68.2% และประสบการณ์เชิงบวกในสถานที่ทำงานที่ 57.8% ซึ่งสูงกว่าองค์กรที่ไม่ได้มีการปรับปรุงเครื่องมืออย่างมีนัยสำคัญ
2. การอัปเกรดเครื่องมือและผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล
องค์กรที่ได้ทำการเปลี่ยนเครื่องมือหลัก เช่น ERP และ CRM มีคะแนนความพร้อมที่ 67.0% และพนักงาน 39.7% รายงานว่าได้รับประสบการณ์เชิงบวก อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนเครื่องมือเฉพาะทาง เช่น ซอฟต์แวร์การจัดการโครงการ พบว่ามีอัตราความพึงพอใจต่ำกว่า (34.5%) ซึ่งสะท้อนถึงความท้าทายในการโยกย้ายระบบและการหยุดชะงักของกระบวนการทำงาน
แนวทางสู่การบรรลุความพร้อมสูงสุดในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในสถานที่ทำงาน
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงเป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ด้วยการผสานรวมเครื่องมือการทำงานร่วมกัน มาตรการรักษาความปลอดภัย และโซลูชัน AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและประสบการณ์ของพนักงาน แม้ว่ายังมีความท้าทายอยู่ โดยเฉพาะในเรื่องของการทำงานร่วมกันผ่านเอกสารและการรายงานเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย แต่ภูมิภาคนี้กำลังก้าวไปอย่างมั่นใจเพื่อให้บรรลุความพร้อมด้านดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบภายใน 10 ปีข้างหน้า องค์กรต่าง ๆ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงและนำแพลตฟอร์มที่ทันสมัยมาใช้ในสถานที่ทำงาน เพื่อให้บรรลุความพร้อมนี้ พร้อมทั้งมุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการทำงานข้ามแผนกต่าง ๆ ภายในองค์กร การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจต้องใช้งบประมาณ 500-1,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปีในช่วง 10 ปีข้างหน้า
สำหรับผลการศึกษาทั่วโลกฉบับสมบูรณ์ คลิกที่นี่ และสามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการศึกษาได้ที่นี่
Hashtag: #zoho


The issuer is solely responsible for the content of this announcement.
เกี่ยวกับ Zoho
Zoho Corporation คือหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก ซึ่งมีแอปพลิเคชันกว่า 55 รายการ ที่ครอบคลุมเกือบทุกหมวดหมู่ธุรกิจสำคัญ Zoho เป็นบริษัทเอกชนที่ทำกำไรได้และมีพนักงานมากกว่า 15,000 คนทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ออสติน, เท็กซัส และสำนักงานใหญ่ระดับนานาชาติอยู่ที่เจนไน, อินเดีย ขณะที่สำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตั้งอยู่ที่สิงคโปร์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเข้าไปที่ www.zoho.com/
Zoho ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ โดยไม่ใช้โมเดลรายได้จากโฆษณาในทุกส่วนของธุรกิจ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ฟรี โดยบริษัทเป็นเจ้าของและดำเนินการศูนย์ข้อมูลด้วยตนเอง เพื่อให้สามารถควบคุมข้อมูลลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย ปัจจุบัน Zoho มีผู้ใช้งานมากกว่า 100 ล้านคน จากองค์กรหลายแสนแห่งทั่วโลกที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของเราในการดำเนินธุรกิจประจำวัน
โดยตัวบริษัท Zoho เองก็ใช้โซลูชันเหล่านี้ด้วยเช่นเดียวกัน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเข้าไปที่ https://www.zoho.com/privacy-commitment.html
แสดงความเห็น