ไทเป, 27 มีนาคม 2568 /PRNewswire/ -- การประชุม Asia-Pacific Association for International Education (APAIE) ประจำปี 2568 เปิดฉากขึ้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย และจะดำเนินไปจนถึงวันที่ 28 มีนาคม โดยคณะผู้แทนจากไต้หวัน ซึ่งจัดโดยมูลนิธิเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศด้านอุดมศึกษาแห่งไต้หวัน (FICHET) นำโดย ศาสตราจารย์พิเศษ Cheng-Chih Wu ประธาน FICHET พร้อมด้วยตัวแทน 44 คนจาก 15 มหาวิทยาลัยในไต้หวัน มีเป้าหมายในการเน้นย้ำจุดแข็งของไต้หวันในฐานะศูนย์กลางเทคโนโลยี และดึงดูดบุคลากรจากนานาชาติเพื่อมาศึกษาในไต้หวัน ทั้งนี้ H.E. Baushuan Ger ผู้แทนจากศูนย์เศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปในอินเดีย พร้อมด้วย Jen Chun Tsai ผู้ช่วยผู้แทน, Peters Li Ying Chen ผู้อำนวยการแผนกการศึกษา และ Teresa Weng ผู้จัดการสำนักงานประสานงานศูนย์การค้าไทเปในนิวเดลี ได้ให้การต้อนรับตัวแทนจากไต้หวัน พร้อมสนับสนุนในการขยายโอกาสความร่วมมือด้านวิชาการและการวิจัย
On the Conference's opening day, APAIE President Prof. Venky Shankararaman and Executive Director Ms. Louise Kinnaird visited the Taiwan's delegation, meeting Chairperson Wu and joining the Taiwan delegation for a group photo.
ในวันเปิดงานประชุม ศาสตราจารย์ Venky Shankararaman ประธาน APAIE และ Louise Kinnaird ผู้อำนวยการบริหาร ได้เข้าเยี่ยมคณะผู้แทนจากไต้หวัน โดยได้พบกับประธาน Wu และร่วมถ่ายภาพหมู่กับคณะผู้แทน ด้านประธาน Wu ได้เน้นย้ำบทบาทของ FICHET ในฐานะแพลตฟอร์มสำคัญสำหรับความร่วมมือด้านการอุดมศึกษาระหว่างประเทศของไต้หวัน โดยไต้หวันนั้นเล็งเห็นถึงความเชี่ยวชาญของอินเดียในด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี และต้องการสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มบุคลากรที่มีความสามารถของอินเดียกับจุดแข็งของไต้หวันในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ICT และเทคโนโลยีชีวภาพ โดยมุ่งเน้นไปที่ความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษา รวมถึงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ
เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไต้หวันและอินเดียให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ผู้นำมหาวิทยาลัยเกือบ 70 คนจากทั้งสองประเทศจะเข้าร่วมการประชุม "2025 Taiwan-India Higher Education Leaders Forum" ในวันที่ 26 มีนาคม ณ India Habitat Centre กรุงเดลี ทั้งนี้ ในปี 2553 FICHET และสมาคมมหาวิทยาลัยอินเดีย (AIU) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับแรกเพื่อเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและความร่วมมือ โดยข้อตกลงดังกล่าวกำลังเข้าสู่ช่วงต่ออายุครั้งที่สาม การประชุมครั้งนี้จะเน้นไปที่ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) โดยมีผู้แทน Ger จากศูนย์เศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปในอินเดียเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการสานต่อความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างไต้หวันและอินเดียครั้งนี้
ตามรายงานของกระทรวงศึกษาธิการไต้หวันระบุว่า นักศึกษาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เข้าศึกษาต่อในไต้หวันมีจำนวนกว่า 100,000 คนในปี 2567 คิดเป็น 87% ของนักศึกษาต่างชาติทั้งหมด โดยมีนักศึกษาจากอินเดียมากกว่า 2,500 คนต่อปี ทั้งนี้ ไต้หวันได้ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาและการเคลื่อนย้ายบุคลากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกผ่านโครงการรับสมัครและส่งเสริมการศึกษาสำหรับนักศึกษาต่างชาติ พร้อมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือพหุภาคี ดึงดูดนักศึกษาต่างชาติเพิ่มขึ้น และตอบสนองความต้องการด้านบุคลากรของอุตสาหกรรมไต้หวัน
แสดงความคิดเห็น